วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาแรด

สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยมมี 2 ลักษณะคือ
1. การเลี้ยงในบ่อดิน
2. การเลี้ยงในกระชัง
1. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อ ที่ใช้เลี้ยง 1-5 ไร่ จะใช้เวลาเลี้ยง 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อ จะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืชอื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้นเพื่อให้ ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว
ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจาก โรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวกเป็นอาหาร
การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความสวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ในที่แคบได้ แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว ยังนิยมเลี้ยงในกระชัง เช่น ที่แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี
2. การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจากกระชังไม้มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่ง ขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชัง ดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลาในกระชังจะต้องสร้าง แพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกัน และเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร กระชังขนาดดังกล่าวสามารถเลี้ยงปลาแรดขนาด 3 นิ้ว ได้ 3,000 ตัว
การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000 บาท









กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวกระชัง
มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี
กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นโครงร่างกระชัง
ส่วนตัวกระชังใช้วัสดุจำพวกไนลอน หรือโพลีเอทีลีน
ทุ่นลอยที่ช่วยพยุงให้กระชังลอยน้ำได้ จะใช้แพลูกบวบ หรือถังน้ำมัน
ปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ และปลาสวยงาม
โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยงปลา ประกอบด้วย
1. โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี .ซี
2. ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน โพลีเอทีลิน หรือวัสคุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง
3. ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถ รับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฎิบัติงานบนกระชัง
สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้
- กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี
- กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี
- กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี
บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดี น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยงปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจาก โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรคปลา

การเลี้ยงหมูป่า

ลักษณะของหมูป่า

หมูป่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย ที่พบในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sus scrofa มี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น หมูป่าเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Ommivorous) ซึ่งอาหารของหมูป่าได้แก่ ผักต่าง ๆ เผือก มัน เห็ด หน่อไม้ ข้าวโพด สับปะรด ถั่วลิสงและหญ้าอ่อนๆ ส่วนสัตว์จำพวกปลวก งู และหนู ก็กินได้เหมือนกัน หมูป่าจะมีนิสัยการกินอาหารแบบตะกละและแย่งกันกิน การหากินก็จะออกหากินในตอนเช้าตรู่เป็นส่วนใหญ่ หากถูกรบกวนมาก ๆ ก็จะออกหากินในตอนกลางคืนเช่นกัน หมูป่าชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ขนาดฝูงก็มีตั้งแต่ 5-6 ตัวจนถึงฝูงใหญ่ขนาด 50 ตัว แต่ละฝูงประกอบด้วยหลายวัย ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตัวผู้ขนาดใหญ่จะรวมฝูงเฉพาะช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ แต่ช่วงปกติจะแยกตัวออกจากฝูงและอาศัยอยู่เพียงโดดเดี่ยว ที่เรียกกันว่า หมูโทน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหมูโทนมีรางกายกำยำใหญ่โต มีเขี้ยวที่ยาวและแหลมคมสามารถที่จะรักษาตัวเองได้ หรืออาจเป็นเพราะว่ามันดุร้ายจนหมูป่าที่มีขนาดเล็กกว่าไม่อยากอยู่ด้วยจึงพากันแยกฝูงหนีไปเสีย


 หมูป่ามีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก แต่มีประสาทตาไม่ค่อยดี รวมทั้งประสาทหูไม่ดีด้วย (นอกจากบางครั้งที่มันเกิดสงสัยเมื่อได้กลิ่นประสาททั้งตาและหูจะว่องไวผิดปกติ) จมูกจึงเป็นเสมือนเครื่องรับประกันความปลอดภัยโดยธรรมชาติ หมูป่าเวลาออกหากินจะมีเสียงเอะอะและดังมาก ซึ่งเป็นเสียงไล่กัดกัน กัดกินอาหาร แย่งกันกินอาหาร เกลือกกลิ้งเล่นกันและเสียงนี้สามารถได้ยินในระยะไกลๆ อย่างไรก็ตามถ้าหากมันเกิดความสงสัยหรือระแวงเหตุร้ายขึ้นมา หมูป่าจะกลายเป็นสัตว์ที่เงียบที่สุดได้เหมือนกัน คือทุกตัวจะยืนนิ่งและเงียบกริบ ราวกับว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ครั้นแน่ใจว่าจะมีภัยอันตรายเกิดขึ้นกับมันจะพากันออกวิ่งหนีพอเข้าป่าได้เรียบร้อยแล้วพวกมันจะยืนนิ่งเงียบกริบอีกครั้ง เพื่อพิสูจน์ให้แน่ใจอีกครั้งว่าปลอดภัยแล้วหรือยัง

หมูป่าเมื่อเป็นสัดและผสมพันธุ์เรียบร้อย ขนาดตั้งท้องอาจอยู่รวมกับฝูงปกติจนกระทั้งใกล้คลอดจึงจะแยกออกจากฝูง เพื่อเตรียมทำรังสำหรับคลอดลูก ส่วนมากจะทำรังด้วยพวกหญ้าและเศษไม้เศษพืช เท่าที่หาได้ มากองสุมกันจนมีความสูงประมาณ 1 เมตรกว่าๆ โดยกองบนเนินดิน แม่หมูจะคลานเข้าไปและขุดยกเป็นโพรงแล้วคลอดในโพรงนี้ เลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือนจนลูกโต และแข็งแรง จึงเข้ารวมฝูงใหญ่ และหากินกันตามปกติในลักษณะเช่นเดิม

พันธุ์หมูป่าที่ใช้เลี้ยง

ในเมืองไทยมีหมูป่าอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาวและพันธุ์หน้าสั้น ซึ่งสามารถแยกความแตกต่าง ได้ดังนี้

1. พันธุ์หน้ายาว ลักษณะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ หน้ายาวกะโหลกเล็กลำตัวยาวหุ่นเพียวสูง อายุ 2 ปี ขึ้นไปมีความสูงขนาด 80 - 90 เซนติเมตร ขาเล็กและยาวเป็นกลีบเท้าเล็กแต่แข็งแรงมากคล้าย ๆ เก้งจะออกในลักษณะหน้าสูงท้ายต่ำ หูเล็ก แนบชิดลำตัว มีขนสีขาวขึ้นด้านใต้แก้มทั้งสองข้าง และมีขนเป็นแผงขึ้นจากท้ายทอยไปถึงสันหลังขนจะยาวประมาณ 6 นิ้ว เวลาตกใจขนจะชูสูงขึ้นลักษณะขนโดยทั่วไปจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 รูๆ ละ 1 เส้น ตัวผู้จะมีเขี้ยว ตัวเมียไม่มีเขี้ยว และตัวผู้จะมีผาน หรือผื่นไขมัน ซึ่งหนามาก ตรงไหล่ขาหน้า ทั้ง 2 ข้าง และมีตุ่มนม 5 คู่ พันธุ์หน้ายาวจะหากินในป่าตื้น

2. พันธุ์หน้าสั้น ลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์หน้ายาว แต่หัวกะโหลกจะใหญ่กว่า ดูแล้วเหมือนพันธุ์หน้ายาว แต่พันธุ์หน้าสั้นมีลักษณะลำตัวจะกลม เตี้ย หูเล็ก ขาสั้น และหนังจะหนากว่าพันธุ์หน้ายาวนมไม่เกิน 10 เต้า จะหากินป่าลึก จะมีจ่าฝูงฝูงหนึ่งประมาณ 30 ตัว ตัวเมียใกล้คลอดจะแยกจากฝูงไปเลี้ยงลูกประมาณ 4 เดือน และจะเข้าฝูงใหม่

อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีผู้ผสมเป็นหมูป่า 2 สาย และ 3 สายกันมากขึ้น

ลักษณะที่ดีของหมูป่าที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ จะมีดังนี้ คือ

1.   รูปร่างสูงโปร่ง

2.   สันหลังตรงและยาว

3.   ส่วนไหล่หนา (ผานไหล่) หนาและกว้าง

4.   สะโพกกว้าง

การเลี้ยงเป็ดไข่

การเลี้ยงเป็ดไข่    
  
    
การเลี้ยงเป็ดไข่          “ไข่เป็ด”  เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค  เพราะเป็ดไข่เลี้ยงค่อนข้างยาก หากเป็ดเกิดอาการตกใจหรือดูแลไม่ดีพอก็จะไม่ยอมไข่  การเลี้ยงเป็ดไข่นิยมเลี้ยงเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์กากีแคมเบลล์กับพันธุ์พื้นเมือง เพราะเลี้ยงง่ายกว่า ทนทาน ให้ไข่ดกประมาณ  260  ฟองต่อปี  และให้เนื้อดี
          ลักษณะของเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ผสมกับเป็ดพื้นเมือง  จะมีขนสีน้ำตาล  ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า  ปากดำค่อนข้างไปในทางเขียว จงอยปากต่ำ  ตาสีน้ำตาลเข้ม  ตัวเมียตัวโตเต็มที่หนักประมาณ  2-5  กิโลกรัม  จะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ  4  เดือนครึ่ง
   
การเลี้ยงเป็ดไข่

          เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน  ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ  7  วัน  ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี  พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ
          โรงเรือนต้องแบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  เป็นลานกว้าง  มีหลังคา  กันแดด  กันลม  กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้  จัดที่ให้อาหารและน้ำ
          อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ  มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต  เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ  ออกกำลังกาย
          การให้อาหาร  คือ  หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว  คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น
          ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์  จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  5  เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่ง  มุมต่าง ๆ  ของคอก
           วิธีการเก็บไข่  คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ  3  ฟอง  จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด  แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน

การจัดจำหน่าย
          ไข่เป็ดที่คัดขนาดแล้ว  จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ  เพื่อนำไปส่งอีกทอดหนึ่ง  การเลี้ยงเป็ดไข่  จะเก็บไข่ขายได้ในระยะเวลายาว  ขายได้กำไรดี เพราะเป็ดสามารถไข่ได้นานถึง  2  ปี หลังจากที่เป็ดหมดระยะไข่แล้ว  ยังสามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ เพื่อประกอบอาหารได้อีกด้วย

เคล็ดลับ
          เป็ดไข่ที่ไม่ไข่ สามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ  มูลเป็ดทำเป็นปุ๋ย ในบ่อน้ำใช้เลี้ยงเป็ดยังสามารถเลี้ยงปลาได้  โดยไม่ต้องเปลืองค่าอาหารเป็นการเพิ่มรายได้ทางอ้อม
 
 

การเลี้ยงปลากัด

การเลี้ยงปลากัด    
 
          ปลากัด  เป็นปลาประเภทสวยงาม  นิยมเลี้ยงไว้ในขวดหรือเลี้ยงไว้กัดเป็นเกมส์กีฬา  เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติของปลากัดจะมีความอดทน  เลี้ยงง่าย  และสามารถขายได้ราคาดี  มีการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศ           พันธุ์ปลากัดที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรา มีอยู่  2  ชนิด  ได้แก่
              1.  ปลากัดไทยหรือปลากัดลูกหม้อ
              2.  ปลากัดจีน

           การเลี้ยงปลากัดต้องเลี้ยงเดี่ยวในภาชนะใส  โดยใช้ขวดโหลรูปทรงกลมหรือเหลี่ยม  และยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ  เช่น  อ่างน้ำ  โอ่ง  กระชอน  สวิงตักลูกปลา  กรวด  ทราย  หิน  สาหร่าย  เป็นต้น  น้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลากัดต้องสะอาด  โดยเฉพาะน้ำฝนเป็นน้ำที่ดีที่สุด  น้ำเหล่านี้ควรพักทิ้งไว้  2-3  วัน  จึงถ่ายลงขวดที่เลี้ยง
วิธีการเพาะพันธุ์ปลากัด
          นำปลากัดตัวผู้และตัวเมียใส่แยกขวด  แล้วนำมาเทียบกันไว้ประมาณ  15 - 20  วัน  เพื่อให้ตัวเมียพร้อมที่จะไข่
          เตรียมบ่อเพาะใช้รองปูน  หรือถังซีเมนต์ขนาด  0.80  เมตร  ใส่น้ำให้สูงลึก 1  ฝ่ามือ  แล้วใส่ต้นผักบุ้งลงไปพอประมาณ
          ปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไว้รวมกัน  ทิ้งไว้จนกว่าแม่พันธุ์จะไข่ โดยสังเกตที่หวอดที่เป็นฟองอากาศ  เมื่อปลาไข่แล้วจะเห็นคล้ายเม็ดสาคูที่หวอด ให้เอาแม่พันธุ์ออก  แล้วปล่อยให้พ่อพันธุ์ฟักไข่ต่อไป  จนกว่าปลากัดจะโตจนสามารถกินลูกน้ำได้
          เมื่ออายุได้  4-5  เดือน  คัดตัวผู้ใส่ขวดเพื่อจำหน่ายหรือประดับบ้าน  ส่วนตัวเมียแยกไว้เป็นแม่พันธุ์  เพราะมีลักษณะสีไม่สวยงาม  ไม่สดใสซีด  ตัวเล็กกว่าตัวผู้

การจัดจำหน่าย
          คัดตัวผู้สีสวย ๆ  ใส่ขวดวางจำหน่าย  หรือถ้ามีจำนวนมาก ๆ ติดต่อบ่อเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม  ส่งไปขายต่างประเทศ  ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง ราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาล  เช่น  ฤดูฝนจะได้ราคา
   

การเลี้ยงปลานิล

การเลี้ยงปลานิล 
           ในปัจจุบันการจำกัดพื้นที่ทำการประมง  ทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีบทบาทมากขึ้น การเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภค  เป็นการเลี้ยงที่ยกระดับรายได้ของผู้เลี้ยง  ลักษณะของปลานิลโดยทั่วๆ ไป จะมีครีบหลังเพียง 1 ครีบ  มีเกร็ดตามแนวเส้นข้างตัว  ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล  ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง  อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย มีความอดทน  สามารถปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้ง่าย  นับว่าเป็นปลาที่เหมาะจะนำมาเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี
          ปลานิลเป็นปลาที่มีเนื้อมากและรสชาติอร่อย  สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง  และยังนำมาแปรรูปเป็นปลาเค็มตากแห้ง ปลากรอบ  ปลาร้า  เพื่อเก็บรักษาไว้ได้นาน  และเป็นอาชีพเสริมแก่ผู้เลี้ยงได้อีกด้วย
วิธีการเลี้ยงปลานิล
          เตรียมบ่อสำหรับใช้ในการเลี้ยงปลานิล  ควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อจะได้เลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่  และสำหรับเพาะลูกปลาไปด้วยกัน
          กำจัดวัชพืช  เช่น  ผักตบชวา  จอก  และหญ้าต่างๆ  เพื่อไม่ให้รกบ่อเลี้ยง จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ อีกทั้งจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยศัตรูของปลาจำพวกสัตว์กินเนื้อต่างๆ  เช่น  ปลาดุก ปลาช่อน  กบ  เขียด  งู  เป็นต้น
          ใส่ปุ๋ย  มูลวัว  มูลเป็ด  มูลไก่ที่ตากแห้ง  เพื่อเป็นอาหารจากธรรมชาติ ปุ๋ยจะทำให้เกิดตะไคร่น้ำ  และตัวไร ซึ่งนับว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อการเลี้ยงปลาเป็นอย่างมาก
          การปล่อยปลานิลลงเลี้ยง  จำนวนปลาที่ปล่อยครั้งแรกไม่ต้องมาก เพราะปลานิลเป็นปลาที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว  ควรใช้พ่อแม่ปลาเพียง  50  คู่ ถ้าเป็นลูกปลาปล่อยลงบ่อพอประมาณ  ภายในระยะเวลา 1 ปี  ปลานิลสามารถออกลูกได้ 3-4 ครั้ง ทำให้ลูกปลาที่เกิดมาจะแน่นบ่ออย่างรวดเร็ว
          ปลานิลเป็นปลาที่กินอาหารได้ทุกชนิด  โดยเฉพาะได้อาหารจากธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ เช่น  ตะไคร่น้ำ  ไรน้ำ  ตัวอ่อนแมลง  และสัตว์เล็กๆ  ตลอดจนสาหร่าย  แหน แต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้น  จึงมีการให้อาหารเสริม  อาทิ  รำ  ปลายข้าว  กากถั่ว  แหน  ปลาป่น  และไม่ควรให้อาหารเสริมมากไป  จะทำให้น้ำเน่าเสียได้
การจัดจำหน่าย : ปลานิลจะจับขายได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา เมื่อมีขนาดโตเต็มที่จะมีน้ำหนักครึ่งกิโลกรัม ขนาดความยาวประมาณ 1 ฟุต ควรจับเป็นระยะ เพราะปลานิลจะเจริญ เติบโตไม่เท่ากัน และขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดด้วย ลูกค้าบางคนก็แบ่งซื้อ ขายเป็นกิโลกรัมที่บ่อเลี้ยง ก็ได้จะได้คุณภาพปลาที่สดกว่าด้วยหรือพ่อค้าคนกลางจะมารับซื้อถึงที่ เพื่อส่งขายตามตลาด
เคล็ดลับ
:
คนส่วนใหญ่ชอบเลี้ยงปลา  เพราะปลาเป็นอาหารโปรตีนสูง การเลี้ยงปลานิลลงทุนไม่มาก  ประหยัดค่าอาหาร  ดูแลง่าย และนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง

 

การเลี้ยงไก่ไข่

การเลี้ยงไก่ไข่
           อาชีพเลี้ยงไก่ไข่   เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม  เพราะนอกจากจะได้ไข่ไว้บริโภคภายในครัวเรือนแล้ว  ยัง สามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร  อีกทั้งการลงทุนก็ไม่มาก  เลี้ยงง่าย  ใช้เนื้อที่น้อย
บริษัทหรือฟาร์มเอกชนจำนวนมาก  ผลิตไข่ไก่พันธุ์ลูกผสมเพื่อจำหน่ายแก่ผู้เลี้ยง  ไก่พันธุ์ที่คัดเลือกเป็นไก่พันธุ์ไข่ดก  ไข่ฟองโต  ไข่ทน  และไข่นาน  มีผลผลิตไข่อยู่ในเกณฑ์สูงสามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่อายุเริ่มได้  1  วัน  หรือจะเลี้ยงไก่รุ่น  2  เดือนก็ได้  เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเลี้ยงเป็นครั้งแรก
การเลี้ยงไก่ไข่สามารถทำการเลี้ยงได้  2 วิธี
        การเลี้ยงแบบกรงตับ  เป็นกรงใส่ไก่ไข่ที่มีทั้งแบบชั้นเดียว  และหลายชั้นซ้อนกันเป็นที่นิยมมาก ชั้นเดียว  2  ด้าน  ด้านละ  6  ช่อง  ชุดหนึ่งเลี้ยงได้  12  ตัว  ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำให้อาหารแบบกะทัดรัด
        การเลี้ยงแบบขังรวม เป็นการเลี้ยงไก่แบบเลี้ยงรวมกันในโรงเรือนขนาดใหญ่  และรองพื้นด้วยวัสดุรองพื้น วิธีนี้เป็นที่สนใจจากผู้เลี้ยงในปัจจุบันอย่างมาก
        โรงเรือน และอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่  ต้องแข็งแรง  กันแดด  กันฝน  กันลมได้  และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

การดูแลรักษาไก่ไข่

       กกลูกไก่ด้วยหลอดไฟฟ้า  40-60  แรงเทียน  โดยติดหลอดไฟไว้ใต้ฝาชี
       การให้อาหารสำเร็จรูปควรมีโปรตีนตามอายุไก่ไข่
       ลูกไก่และไก่เล็ก  อายุ 0-8 สัปดาห์ อาหารควรมีโปรตีน 12-18 %
       ไก่รุ่นและไก่สาว  อายุ  8 สัปดาห์   อาหารควรมีโปรตีน 17-18 %
       ไก่ไข่อายุตั้งแต่เริ่มไข่เป็นต้นไป     อาหารควรมีโปรตีน 15-16 %
       การทำวัคซีนให้กับไก่ไข่  ควรให้วัคซีนซีมาเร็กซ์เพื่อป้องกันโรคมะเร็งในไก่นิวคาสเซิ่น  หลอดลมอักเสบ  ฝีดาษ  อหิวาต์  กล่องเสียงอักเสบ  และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการ  เกษตรอำเภอ

   
การจัดจำหน่าย
          ติดต่อพ่อค้าคนกลางมารับซื้อไข่ไก่จากฟาร์ม  เพื่อนำไปส่งขายต่ออีกทอดหนึ่ง  และต้องคัดเลือกขนาดของไข่ไก่ก่อนทุกครั้ง  เพราะราคาจะแตกต่างกันตามขนาดของไข่
เคล็ดลับ

          การเลี้ยงไก่ไข่ให้มีคุณภาพ  ต้องมีการสุขาภิบาลที่ดี  ดูแลความสะอาดของโรงเรือน  อุปกรณ์ให้น้ำ  และอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่ ไก่อาจตกใจไม่ออกไข่หรืออาจตายได้
 

การเลี้ยงสุกรแนวทางเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)

การเลี้ยงสุกรแนวทางเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)

mulum001.JPG (50720 bytes) mulum002.JPG (48618 bytes) mulum003.JPG (50802 bytes)

ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 22 - 23 มีนาคม 2548 คณะครูศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสูงเม่นได้เข้าร่วมอบรมโครงการถ่ายเทคโนโลยี การผลิตหมูหลุม เพื่อสร้างรายได้ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
การเลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติของเกาหลี (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยงแล้ว ยังสามารถลดต้นทุนอาหารได้ ถึง 70 % ทำให้ภาระการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง เนื่องจากเกษตรกร ไม่ต้องกวาดพื้นคอก กำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นเหม็นของขี้หมูรบกวน พื้นคอก ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม
แนวคิดที่เลี้ยงสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)
1. ต้องการศึกษา เรียนรู้ วิธีการ เลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติ และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่เผชิญได้ด้วยตัวเอง
2. เป็นแนวทางการส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน ตามภารกิจงานการศึกษานอกโรงเรียน
3. เป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด บริการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวอยากให้ชาวบ้าน และแนวทางการเลี้ยงในการแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น
โรงเรือน



สุกร 10 ตัว จะใช้พื้นที่ในการเลี้ยงขนาดความกว้าง 3 เมตร x ความยาว 6 เมตร หลังคายกสูงให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ลักษณะของโรงเรือน
1. ตั้งอยู่บนที่สูง ที่ดอน
2. สร้างโรงเรือนตามแนวทิศทางของตะวันออก – ตะวันตก
3. วัสดุมุงหลังคาควรเป็นกระเบื้อง หรือ คา
4. หลังคาสูง – เอน เช่น
- เพิงหมาแหงน
- เพิงหมาเหงนกลาย
- แบบจั่ว
- จั่ว 2 ชั้น
- จั่ว 2 ชั้นกลาย
พื้นคอก
การเตรียมคอก
ขุดดินออกไปทั้งหมด ให้ลึกประมาณ 90 เซนติเมตร ปรับขอบรอบๆ แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ ใส่แทนดินที่ขุดออกไป วัสดุที่ใช้ได้แก่
- ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
- ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
- เกลือ 0.3 - 0.5 ส่วน

นำวัสดุเหล่านี้ คลุกเคล้าผสมกัน ลงไป 30 เซนติเมตร ใช้จุลินทรีย์ที่ได้จากการหมักพืช  จุลินทรีย์เชื้อราขาวจากป่าไผ่ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร ราดลงบนวัสดุรองพื้น โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบางๆ ชั้นที่ 2 และ 3 ทำเหมือนชั้นแรก ชั้นสุดท้ายโรยแกลบดิบ ปิดหน้า หนึ่งฝามือ
การเตรียมหลุม และพื้นคอกหมูหลุม
อาหารและการให้อาหาร
- ถังน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อหมูจะเดินไปมาเป็นการออกกำลังกาย
การเริ่มต้นเลี้ยงสุกร เมื่อหย่านม จะเป็นการดีที่ฝึกวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ การให้อาหารให้เพียงวันละ 1 ครั้ง (ปรับตามความเหมาะสม)
อาหารที่ให้
ใช้พืชผักสีเขียว เป็นอาหารเสริม อาหารหมัก ใช้ผักสีเขียว หยวกกล้วย มะละกอดิบ ใบบอน วัชพืชต่างๆ ที่หมูชอบ สับผักเป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทรายแดง โดยหมักในอัตราส่วน 100 : 4 : 1 คือ ใช้พืช 100กิโลกรม : น้ำตาล 4 กิโลกรม : เกลือ 1 กิโลกรัม นำไปเลี้ยงสุกรโดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุนในการเลี้ยง
ขั้นตอนการเตรียม อาหาร และน้ำดื่ม สำหรับสุกร 1. น้ำดื่มสำหรับหมูหลุม
สำหรับ น้ำ 1 ถัง ( 20 ลิตร) ส่วนผสมน้ำดื่มให้สุกร
1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำฮอร์โมน สมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ (เหล้าดองยา)
3. นมเปรี้ยว 2 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำหมักแคลเซียม 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำสะอาด 20 ลิตร
ผสมให้ดื่มเป็นประจำทุกวัน หากพื้นคอกสุกรแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำดังกล่าวราดบนพื้นคอก
จะทำให้เกิดกลิ่นหอม จูงใจให้สุกรขุดคุ้ยเป็นการกลับหน้าดิน ช่วยให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท เกิดจุลินทรีย์มากมาย
2. การทำอาหารหมัก
วัสดุอุปกรณ์
1. ผักใบเขียวต่างๆ หยวกกล้วย ใบบอน พืชใบเขียว
2. ถุงพลาสติก
3. น้ำตาลทรายแดง
4. เกลือป่น หรือเกลือเม็ด
5. กระดาษสีขาว
6. เชือกฟาง
วิธีนำอาหารหมักไปใช้
ใช้อาหารหมัก 7 ส่วน ต่อ อาหารเม็ด 1 ส่วน ต่อรำ 2 ส่วน หรือ 7 : 1 : 2 ถ้าคิดเป็น 100 % (อาหารหมัก 70 % : อาหารเม็ด 15 % : รำ 15 % ) สามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้เลี้ยง

 การทำอาหารหมักจากพืช                                              
     อาหารหมักจากพืชที่ผสมเรียบร้อยแล้ว3. การทำน้ำหมักผลไม้
วัสดุอุปกรณ์
1. ผลไม้สุก / ดิบ
2. น้ำตาลทรายแดง
3. ขวดโหล / ถัง / โอ่ง (สำหรับหมัก)
4. เชือกฟาง
5. กระดาษขาว


น้ำหมักผลไม้ และยาดองสำหรับเลี้ยงสุกร
วิธีทำ
1. เตรียมผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่สุกจัด หรือร่วงตกใต้ต้น เช่น มะม่วง องุ่น มะละกอ สับปะรด มะเฟือง กล้วย ฯลฯ ถ้ามีผลไม้ไม่พอก็สามารถเติมพืช อื่นเป็นส่วนประกอบได้ เช่น รากผักขม มันแกว มันเทศ แครอท มันสำปะหลัง พืชตระกูลแตง หัวผักกาด เป็นต้น หากผักหรือผลไม้ที่ใช้หมัก มีมากพอก็สามารถทำเป็น ชนิดเดียวกัน
2. ใช้ผลไม้หมัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม (ในฤดูร้อน) ส่วนในฤดูหนาวเพิ่มน้ำตาล ทรายแดง ½ กิโลกรัม (น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกผสมในผลไม้ และส่วนที่ 2 ใช้โรยหน้า)
3. ล้างภาชนะที่จะใช้หมัก และตากแดงให้แห้ง
4. ชั้นที่อยู่ก้นภาชนะให้วางเรียงวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทรายแดงปิดทับเป็นชั้นๆ โรยน้ำตาลทราบแดงทับจนหมด (ให้เหลือที่ว่างห่างจากปากภาชนะ 1/3 ของความสูงของภาชนะ) จากนั้น ใช้น้ำตาลส่วนที่เหลือปิดทับด้านหน้าให้หนา เพื่อป้องกันอากาศ ควรใส่ผลไม้ที่มีความความหวานไว้ด้านล่าง โดยเรียงลำดับตามความหวาน ผลไม้ที่ให้ความหวานน้อยที่สุดให้ใส่ชั้นบนสุด ผลไม้ที่เป็นชิ้นเล็กๆ เช่นองุ่น ให้ใช้มือที่สะอาดบีบให้แตกขณะนำไปหมักในโอ่ง หรือภาชนะหมัก
6. คลุมปากภาชนะด้วยกระดาษขาว และมัดปากภาชนะด้วยเชือก
7. ในฤดูร้อน กระบวนการหมักใช้เวลา 4 – 5 วัน ส่วนในฤดูฝนกระบวนการหมักใช้เวลา 7 – 10 วัน ส่วนในฤดูหนาว จะใช้เวลาในการหมัก 10-15 วัน
8. เก็บภาชนะหมักไว้ในที่ร่ม และมีอากาศเย็น ไม่ให้ถูกแสงแดด ไม่ควรปิดภาชนะในระหว่าง
กระบวนการหมัก กำลังดำเนินการอยู่
วิธีการนำไปใช้
- ใช้น้ำหมักในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ใช้พ่นกับพืชเมื่อเข้าสู่ระยะเปลี่ยนวัย ( เข้าสู่การออกดอกออกผล)
- รดพื้นคอก ผสมให้หมูกิน รดผัก
4. การทำน้ำแคลเซียม
วัสดุอุปกรณ์
1. กระดูก เปลือกไข่
2. น้ำซาวข้าว , น้ำมะพร้าว
3. ถังพลาสติก
4. เครื่องผลิตออกซิเจนใส่ตู้ปลา
5. น้ำตาลทราย
วิธีทำ
1. รวบรวมเปลือกไข่ นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียด
2. เปลือกไข่ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำซาวข้าว 20 ลิตร
3. นำเปลือกไข่ที่บดละเอียดใส่ภาชนะ เติมน้ำซาวข้าว และน้ำ ทิ้งช่องอากาศอยู่ประมาณ
30 % เปิดฟองอากาศทิ้งไว้ ประมาณ 20 วัน จะเกิดฟองปฏิกิริยาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. เมื่อใส่ออกซิเจนครบ 20 วันแล้ว ให้เติมน้ำตาล 1 กิโลกรัม ลงไป
วิธีนำไปใช้
- ใช้น้ำหมักแคลเซียมในอัตรา 2 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ฉีดพ่น พืช ผัก
- ใช้ผสมในน้ำให้หมูกิน
- ใช้ผสมกับน้ำทะเล ในการรดผลไม้ในระยะออกผล เพิ่มความหวานให้กับผลไม้
5. การทำนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต)วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำซาวข้าว
2. รำละเอียด
3. ถัง
4. ขวดโหล
5. นมสดพลาสเจอร์ไรด์ (นมจืด)
6. สายยาง
7. กระดาวข้าว
8. เชือกฟาง
วิธีทำ
1. นำน้ำซาวข้าวใส่ภาชนะที่มีความสูง 15 เซนติเมตร โดยให้เหลือพื้นที่ในภาชนะ 1/3 ส่วน สำหรับอากาศ นำกระดาษขาวปิด ผูกเชือก ใช้เวลาในการหมัก 5 - 7 วัน เก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิประมาณ 20 – 25 องศาเซลเซียส แบคทีเรียจะเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเปรี้ยวออกมา
2. นำรำละเอียดโรยปิดหน้าน้ำซาวข้าวหมักทิ้งไว้ 2 วัน หลังจากนั้นใช้สายยางทำการลักน้ำออกมาใส่ภาชนะที่เตรียมไว้โดยไม่ให้มีตะกอนติดออกมาพร้อมกับน้ำที่ลักออกมา โดยใช้น้ำที่ได้ 1 ส่วน ต่อนมสดพาสเจอไรด์ ลงไป 10 ส่วน เติมน้ำตาลทรายแดงลงไป ½ กิโลกรัม ของวัตถุดิบทั้งหมด ใช้กระดาษปิด ผูกเชือกทิ้งไว้ 5 - 7 วันจึงนำไปใช้
วิธีการนำไปใช้
- ใช้นมเปรี้ยวในอัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร
- ผสมให้หมูกิน
- รดพื้นคอก
6. การทำหมากฝรั่ง หมู
วัสดุอุปกรณ์
1. ไม้เนื้ออ่อน (ไม้กระถิน ฉำฉา ไมยาราบ)
2. ถังพลาสติก
3. กระสอบฟาง
4. เชือกฟาง
5. หัวเชื้อฮอร์โมนสมุนไพร
6. น้ำตาลทรายแดง
วิธีทำ
1. เตรียมไม้เนื้ออ่อน มาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1 คืบ
2. เตรียมน้ำ 10 ลิตร ต่อ เหล้าสมุนไพร 2 –3 ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำตาลทราย
แดง ครึ่งกิโลกรัม ผสมให้เข้ากันแล้วนำไม้เนื้ออ่อนที่เตรียมไว้ลงมาแช่ ใช้กระสอบฟางปิดปากภาชนะไว้ แล้วใช้วัสดุที่หนักทับเพื่อให้ไม้จมน้ำตลอดเวลา
3. กระบวนการหมักใช้เวลา 10 - 15 วัน จึงใช้งานได้
วิธีการนำไปใช้
- โยนให้หมูกิน (นำท่อนไม้กลับมาใช้ใหม่ได้ 2 - 3 ครั้ง)
หมายเหตุ ยาดองเป็นชุด ตัวยารวมกัน 3 ตัวขึ้นจะดี
7. การทำเชื้อราขาวจากใบไผ่
วัสดุอุปกรณ์
1. กล่องไม้สี่เหลี่ยม สูง 10 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร
2. ข้าวสุก 1 ลิตร
3. พลาสติก
4. ทัพพีตักข้าว
5. กระดาวขาว
6. เชือกฟาง
7. ตะแกรง
8. น้ำตาลทรายแดง
9. ขวดโหล

    การเตรียมข้าวสวยเพื่อต่อเชื้อราขาว


    เชื้อราขาวที่ได้การต่อจากใบไผ่
วิธีทำ
1. หุงขาวให้สุก ทำให้เย็น แล้วนำข้าวใส่ในกระบะ เกลี่ยให้ทั่วกระบะ
2. นำกระดาษขาวมาคลุมกระบะ แล้วมัดด้วยเชือกฟางให้แน่น
3. ขุดหลุม บริเวณใกล้ต้นไผ่ พอกับขนาดกระบะใส่ลงไปได้ นำพลาสติกคลุมลงไปตาม
ด้วยตะแกรง วางทับข้างบน แล้วจึงนำใบไผ่ปกคลุม ให้ทั่วกระบะไม้ รดน้ำให้รอบๆ
4. กระบวนการหมัก 4 – 5 วัน ในฤดูร้อน , ฤดูฝน 6 – 7 วัน จะได้จุลินทรีย์ราขาว
คลุมเต็มผิวหน้า
5. นำเชื้อราขาวที่ได้ มาผสมน้ำตาลทราบ แล้วปิดผาหมักไว้ 7 วัน
การนำไปใช้
- อัตรา 2 ช้อน / น้ำ 10 ลิตร
- รดพื้นคอก
- รดปุ๋ยหมัก
ประโยชน์จากการเลี้ยงสุกร แบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม)
1. ได้รับความรู้
2. มีรายได้เพิ่มขึ้น
3. นำปุ๋ยไปใช้ในการเกษตร
4. เผยแพร่ให้กับประชาชนสนใจ
5. เป็นตัวอย่างในการเลี้ยงหมูในเขตเทศบาล
6. เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
หลักในการเลือกภาชนะ และวัสดุในการหมัก
1. ภาชนะบรรจุควรเป็นโอ่ง หรือ ไห ปากแคบ
2. สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี
3. ขนาดไม่ใหญ่เกินไป
หมายเหตุ ควรเก็บไว้ในที่ร่ม ใช้น้ำตาลทราย ทำการหมัก จากผลไม้ที่ฉ่ำ ต้องใช้น้ำตาล
1 / 2 ของ น้ำหมักผลไม้
รายรับ - รายจ่าย การเลี้ยงหมูหลุม
(เริ่มเลี้ยงหมู ระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 - 20 กันยายน 2548)
ต้นทุนการเลี้ยงหมูหลุม
1. ลูกหมู 10 ตัว 11,500 บาท
2. อาหารสำเร็จรูป 12 ถุง 3,700 บาท
3. รำ 40 ถังๆละ 20 บาท 800 บาท
4. น้ำตาลทรายแดง 60 กิโลๆ ละ 14 บาท 840 บาท
5. เกลือ (3 ถุง 50 บาท) 6 ถุง 100 บาท
6. เหล้าขาว 6 ถุงๆละ 20 บาท 120 บาท
7. ยาดอง 2 ถุงๆละ 20 บาท 40 บาท
8. ค่าวัสดุ + อุปกรณ์ 965 บาท
ต้นทุน รวมทั้งสิ้น 18,065 บาทรายรับ-จากการขายหมู
หมู 10 ตัว ตัวละ 66 กิโลกรัม ๆละ 43 บาท 28,380 บาท
หัก ต้นทุน 18,065 บาท
กำไรจาการขายหมู 10,315 บาท
บวก รายได้จากการขายปุ๋ย 50 กระสอบๆละ 20 บาท 1,000 บาท 
รวม กำไรทั้งสิ้น 11,315 บาท

หมายเหตุ การเลี้ยงหมู ในครั้งนี้ ต้องเรียนรู้ วิธีการเลี้ยงหมู และอยากให้ชาวบ้านเห็นช่องทางอาชีพ โดยให้ชาวบ้านใกล้เคียงนำปุ๋ยไปใช้ ในการเกษตร ปลูกผัก และทำนา

ปัญหา
1. อาหารสำเร็จรูปแพง
2. การทำจุลินทรีย์บางอย่างไม่ค่อยได้ผล
3. อาหารหมักไม่เพียงพอ
4. อาหารหมักมีกลิ่นบูด


แนวทางแก้ไข
1. ใช้ส่วนผสมจากทางการเกษตรมาใช้ในการผสมอาหาร
2. ทดลองจนได้ผล และยึดหลักวิธีการที่ถูกต้องใช้ทำต่อไป
3. ใช้ผักสดผสมในการให้อาหาร
4. เติมน้ำตาล เพิ่มเพื่ออาหรหมักมีกลิ่นหอมและดี
ขอเสนอแนะ
1. ควรจัดให้มีจุดรับซื้อ และจำหน่าย สุกรแบบธรรมชาติ (หมูหลุม) ที่แน่นอน
2. ควรมีการตรวจสอบคุณภาพการเลี้ยงสุกรแบบธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง
ก่อนเริ่มการเลี้ยงหมู ควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เรื่องต่อไปนี้
1. พันธุ์สุกร
2. ตลาด (ราคาซื้อ - ขาย)
3. วัตถุดิบทางการเกษตร
4. ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา
5. ช่างสังเกต จดบันทึก
สรุป
1. อย่าเน้นของถูก ห้ามซื้อ ตามขายเร่
2. ค่อยๆเลี้ยง อย่าใจร้อน
3. การบริหารจัดการดี
ข้อดีของการเลี้ยงหมูหลุม
1. ขี้หมูไม่เหม็น
2. ประหยัดค่าอาหาร 70 %
3. ให้อาหาร 2 มื้อ หรือ 1 มื้อ ตามผู้เลี้ยง
4. ให้ผักสด และพืชตลอดวัน
5. เศษอาหารจากที่เหลือ โรงครัว เพื่อนบ้าน
อาหารสุกร (เพิ่มเติม)
1. อาหารสุกรธรรมชาติที่ชาวบ้านเลี้ยงในอดีต ใช้วิธีหั่นหยวกกล้วย เก็บผักหญ้า
เศษอาหาร
2. จากการไปศึกษาเลี้ยงสุกรของเกษตรกรจีน เขาใช้เศษพืชผัก ยอดมันสำปะหลังสับ
เป็นชิ้นเล็กๆ คลุกน้ำตาลทราย หรือกากน้ำตาล หมักในถุงดำขนาดใหญ่ อัตราหมัก 100 : 4 ทิ้งไว้ 4 – 5 วัน ก็นำไปเลี้ยงสุกร โดยผสมปลายข้าว รำอ่อน ก็จะช่วยลดต้นทุน โดยไม่ใช้อาหารสำเร็จเลย
3. ผลการวิจัยของ ดร.สุริยา สานรักกิจ แห่งฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิจัย
พบว่า เศษผักมี ปลอดสายพิษ 100 กก. หมักน้ำตาลทราบ หรือกากน้ำตาล 4 กก. และผสมเกลือ 1 กก. หมักในถุงดำไล่อากาศออก มัดปากถุงทิ้งไว้ 7 วัน จะได้ผักที่มีคุณภาพดี
4. อาจารย์ โช ฮาน คิว เจ้าตำราบอกว่า อาหารสุกรประมาณ 1 ใน 3 หรือ
ประมาณ 30 % ควรเป็นพืชสีเขียว ดิน IMO สามารถนำมาคลุกกับรำ และปลายข้าวนำไปผสมอาหารจากตลาดได้ครึ่งต่อครึ่ง อาจหมักกับหยวกกล้วย ที่สับเป็นชิ้นเล็กๆได้
5. การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ตากแห้งบดเป็นผงรวมกัน เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้น ไพล
ฝรั่งขี้นก ลูกใต้ใบ ใช้ผักบด 1 กก. ผสมอาหารแห้งทุก 100 กก.